สอบถามและประเมินอาการฟรี
เบื้องหลังงานซ่อม

เบื้องหลังงานซ่อม: เทคนิคการตรวจเช็กมือถืออย่างมืออาชีพที่คุณไม่เคยรู้!!

ไม่ใช่ว่าซ่อมที่ไหนก็ได้!! การซ่อมแซมเหมือนการักษา ถ้าวิเคราะห์ได้ถูกต้องแม่นยำ ก็จะทำให้การซ่อมนั้น ใช้เวลาสั้นและประหยัดงบประมาณ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่ากิจกรรมทุกอย่างของเราในปัจจุบันลงไปอยู่ในมือถือกันหมดแล้ว เมื่อมันเกิดปัญหาเราคงต้องการให้ปัญหามันจบให้ไว เพื่อที่เราจะได้ดำเนินชีวิตของเราต่อไปแบบไม่สะดุด ฉะนั้นแล้วการวิเคราะห์อาการเสียก่อนซ่อมก็คงจะเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ

เมื่อมือถือเริ่มมีปัญหา หลายคนอาจคิดว่าแค่เปลี่ยนจอ เปลี่ยนแบต หรือรีเซ็ตเครื่องก็น่าจะเพียงพอ แต่ความจริงแล้ว “การซ่อมมือถือ” ที่ดี เริ่มต้นตั้งแต่ “การตรวจเช็กอย่างแม่นยำ” ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดในการวินิจฉัยอาการและวางแนวทางซ่อมได้ตรงจุด

5 ขั้นตอนการตรวจเช็กสำหรับร้านซ่อมมือถือมืออาชีพ

✅ 1. ตรวจสอบสภาพเครื่องภายนอก (Visual Inspection)

ช่างมืออาชีพจะเริ่มจากการตรวจเช็กสภาพเครื่องโดยรอบ เช่น

  • มีรอยกระแทกตรงไหนบ้าง
  • หน้าจอบิดงอหรือไม่
  • พอร์ตชาร์จหรือช่องเสียบหูฟังมีฝุ่นหรือความเสียหายหรือเปล่า

แม้รอยเล็ก ๆ ที่ผู้ใช้มองข้าม ก็อาจเป็นต้นเหตุของปัญหาได้

✅ 2. เช็กฟังก์ชันพื้นฐานด้วยโปรแกรมทดสอบ

มือถือหลายรุ่น (เช่น Samsung, iPhone) มีโหมดทดสอบระบบในตัว เช่น

  • การแตะหน้าจอ (touch screen test)
  • ลำโพง ไมโครโฟน
  • เซ็นเซอร์หมุนหน้าจอ หรือ proximity sensor
  • กล้องหน้า/หลัง

ช่างจะใช้เครื่องมือหรือแอปเฉพาะเพื่อประเมินการทำงานของฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ

ระบบจะบอกเราได้ถูกต้องแม่นยำกว่าการเทสด้วยตัวบุคคล ระบบเช็คที่อยู่ในเครื่องพวกนี้แม่นยำและเชื่อถือได้ 100% การตรวจสอบด้วยระบบเช็คนี้จะทำให้การซ่อมแซมตรงจุดและถูกต้อง

✅ 3. ตรวจสอบระดับแบตเตอรี่และอุณหภูมิ

อาการมือถือดับหรือรีสตาร์ทเองบ่อย อาจไม่ได้เกิดจากซอฟต์แวร์เสมอไป มีหลากหลายอาการที่เกิดจากแบตเตอรี่เสื่อมประสิทธิ เช่นอาการเครื่องช้าหรือรวน ซึ่งปัญหาในลักษณะนี้หลายคนอาจคิดว่าจอเสีย

  • ช่างจะเช็กค่าแบตเตอรี่ เช่น ความจุ (mAh) ที่เหลือจริง
  • เช็กอุณหภูมิ CPU ขณะทำงาน
  • ดูว่าระบบชาร์จไฟมีปัญหาหรือไม่ เช่น ไฟเข้าแต่ไม่เก็บ

✅ 4. การวิเคราะห์ระบบซอฟต์แวร์

หากเครื่องไม่เปิด / หน่วง / ค้าง อาจต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เข้ามาช่วยเช็คมากขึ้น

  • อาจเกิดจากระบบเสียหาย ช่างจะทำการแฟลชซอฟต์แวร์ใหม่ หรือรีเซ็ต
  • ใช้โปรแกรมเฉพาะในการอ่าน log และ error code เพื่อหาสาเหตุ

✅ 5. ใช้อุปกรณ์เฉพาะทางในการตรวจเช็กวงจร

ในกรณีที่เครื่องไม่ตอบสนอง หรือไม่มีไฟ

  • ช่างจะใช้เครื่องมืออย่าง Power Supply, มิเตอร์ต่างๆ หรือตัววัดกระแสไฟ
  • ตรวจเช็กระดับไฟฟ้าตามจุดสำคัญบนเมนบอร์ด วงจรไอซี ฯลฯ
  • การตรวจเช็กระดับนี้ต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์สูง

✅ สรุป

การซ่อมมือถือที่ดี เริ่มต้นจากการ “วิเคราะห์อาการอย่างถูกต้อง” เพราะถ้าตรวจเช็กพลาด ไม่ว่าจะซ่อมดีแค่ไหนก็ไม่ตรงจุด ช่างมืออาชีพจึงให้ความสำคัญกับการตรวจเช็กก่อนลงมือทุกครั้ง เพื่อให้การซ่อมมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา และลดความเสี่ยงที่ปัญหาจะกลับมาอีก

YukiFix Best Quality Fast Service

Contact us

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง